“Content is King” นี่จริงไหมนะ
จั่วหัวเรื่องแบบนี้อาจจะดูสวนกระแสนิโหน่ย แต่อยากให้อ่านจนจบนะคะ หากอยากรู้ว่าใคร คือ The King ที่แท้จริง
เอาล่ะพวกเราลองคิดกันเล่นๆ ดูว่า การทำเว็บไซต์สัก 1 เว็บ เราให้ความสำคัญกับอะไรมากที่สุด
“Content is King” นี่จริงไหม
หากคำตอบ คือ ใช่ แปลว่าเราอาจจะทำ content อะไรก็ได้ เอาแบบที่เราชอบ ทำออกมาเยอะมากเลย คุณภาพอาจจะดีบ้าง ไม่ดีบ้าง เราก็อาจจะได้ content ที่ดูงงๆ (สำหรับคนอื่น) หรือ ดูไม่ตรงกลุ่มเป้าหมายสักเท่าไหร่ ก็เลยไม่ค่อยมีคนเข้ามาดูอย่างที่เราคาดหวัง เพราะ content เหล่านั้นไม่ใช่สิ่งที่พวกเขาสนใจ
หากเราทำ content ได้ดีมาก คุณภาพเน้นๆ … แต่ไปใช้ผิดช่องทาง เขาก็อาจจะไม่เห็น content ของเรานะ
ยกตัวอย่างเรื่องช่องทางนะคะ
- ถ้า content เราเป็น บทความ ต้องมีรูปภาพประกอบการอธิบายเป็นช่วงๆ เราก็ไม่ควรไปโพสยาวๆ ใน social (ด้วยข้อจำกัดของแพลตฟอร์ม และพฤติกรรมของผู้ใช้)
- ก็พิจารณาว่าจะทำ web blog ของเราเอง (เขียนบนเว็บไซต์ของตัวเอง) หรือจะไป Medium หรือที่ไหนดี
- ถ้า content เราเป็น วิดีโอ ฮาวทู รีวิว ที่เราตั้งใจทำมาอย่างดี เราเอาไปโพสที่ Facebook แล้วปล่อยให้เป็นไปตามธรรมชาติ … โอกาสที่คนจะเห็น คือ น้อยมากๆ เลยอ่ะ (ถ้าเราไม่มีฐานแฟน)
- แต่ถ้าเราเอาไปขึ้น YouTube โอกาสที่ วิดีโอ ฮาวทู รีวิว ของเราจะถูกมองเห็น และถูกคลิก มีสูงกว่าเฟสเยอะเลย แม้ว่าจะเพิ่งเริ่มเปิดช่อง และยังไม่มีใครรู้จักเรา (ก็ต้องตั้ง Title เด็ดๆ ด้วยนะ)
- แต่ถ้าจะไป Tiktok ก็ต้องไปดูละว่า คลิปยาวๆ เหมาะมั้ย
- แต่ไม่ว่าจะเป็น content ประเภทไหน ถ้าเราทำบนเว็บไซต์ด้วย เราจะได้โอกาสถูกค้นหาเจอผ่าน Google
ดูตัวอย่างเว็บไซต์ : เว็บไซต์ทั่วไป | เว็บไซต์ธุรกิจ | เว็บไซต์ Vlogger
(ยุ้ยมีคอร์ส WordPress สอนคุณทำเว็บแบบในตัวอย่างได้นะคะ)บทความที่เกี่ยวข้อง : ทำไมธุรกิจจำเป็นต้องมี Website ในเมื่อใช้ Social ฟรีๆ ได้นี่
// ทีนี้เราลองคิดให้ลึกซึ้งขึ้นอีกสักหน่อยว่า เราทำ content ไปเพื่ออะไร เพื่อใครกัน ?
“The User is King” ใช่คนนี้หรือเปล่า
หากยังไม่แน่ใจในคำตอบ เลื่อนอ่านต่อได้เลยค่ะ : )
จาก slide นี้ อธิบายได้ว่า…
หัวใจหลักที่สำคัญสำหรับการทำการตลาดดิจิทัล เพื่อเข้าถึงประสบการณ์ของกลุ่มเป้าหมาย มันคือ 4 ตัวนี้
1. Content คือ message ที่เราต้องการสื่อสาร
- ทำให้ดี ให้มีคุณภาพ มีประโยชน์ ตรง target group (จะเห็นได้ว่า content เป็นเพียงส่วนหนึ่ง แต่ว่าเป็นส่วนสำคัญที่ทรงพลังมาก)
2. Channel คือ ช่องทางการเข้าถึง target ของเราอยู่ที่ไหน ให้เราไปที่นั่น
- เข้า channel ให้ถูก จะเข้าอะไร website / mobile app / social ตัวไหน / platform อะไร / etc…
- content เรื่องเดียวกัน แต่ละ channel มีวิธีการนำเสนอ content แตกต่างกัน
- และเราก็ควรเข้าใจธรรมชาติของพฤติกรรมผู้ใช้ และอัลกอริทึมของแต่ละแพลตฟอร์มนั้นๆ ด้วย (ลึกซึ้งเนอะ)
เมื่อมี content ที่ดีอยู่ในมือ เลือกลง channel แล้วเรียบร้อย ก็ต้องทำให้ผู้คนได้มารับรู้ว่า content ของคุณอยู่ตรงนี้นะ เข้ามาดูได้เลยนะ รวมไปถึงธุรกิจของคุณ ได้มีตัวตนอยู่บนโลกออนไลน์ใบนี้แล้วด้วย
เคล็ดลับ! เราไม่จำเป็นต้องมี content อยู่บนทุก social media หรือทุกแพลตฟอร์ม ที่ผู้คนนิยม … ถ้าเราดูแลไม่ไหว
ถ้าจะมีอยู่ที่ไหน เราต้องพร้อมดูแลที่นั่นด้วยนะคะ อย่าปล่อยให้ร้างไปล่ะ
ปล. แพลตฟอร์มดังๆ หลายรายก็ไม่ได้อยู่ตลอดไป อันนี้เรานำมาพิจารณาประกอบด้วยนะคะ
3. Martketing ออกไป
- ต้องสื่อสารการตลาดอย่างมีกลยุทธ์ออกไปให้ target group ของคุณได้รับรู้… เสียงดังๆ ฟังทั่วถึง แบบนี้ล่ะเจอแน่นอน
ณ วันที่เขียนบทความนี้อยู่ ปี 2020 เป็นปีที่ Digital Marketing SEO & SEM มาแรงมากมากกก! ด้วยวิถีชีวิตที่เปลี่ยนไป และเหตุการณ์ต่างๆ อย่าง COVID-19 ทำให้การเข้าถึงผู้คนด้วยช่องทางดิจิทัล ไม่ใช่สิ่งใหม่อีกต่อไปแล้ว แต่คือพื้นฐานที่ธุรกิจ หน่วยงาน และผู้คน เชื่อมโยงเข้าถึงกัน
4. User สุดท้ายทั้งหมดที่ทำมา ก็เพื่อ User เพื่อ ลูกค้า ใช่ไหม
- เราต้องการให้คนเข้ามาดู มาใช้งานเว็บไซต์เราเยอะๆ เข้ามาซื้อสินค้า/บริการ เข้ามาดูผลงานของเรา อ่านโพสต์บทความที่เราเขียนไว้ เราอยากให้คนมากด Like กดแชร์ คอมเม้นต์… อ้ะ เราก็ต้องสร้าง UX – User Experience (ประสบการณ์ผู้ใช้) ที่ดีให้แก่พวกเขา ให้ประโยชน์แก่เขา ทำให้พวกเขาชอบเรา เชื่อถือเรา ทีนี้ จะค้าขายอะไรก็ง่ายขึ้นแล้วล่ะ
ก็น่าจะพอมองเห็นภาพกว้างขึ้นแล้วใช่มั้ยคะ คำตอบไม่ได้มีสูตรตายตัวนะฮะ พี่ยุ้ยแชร์จากประสบการณ์ที่อยู่กับเว็บไซต์ อยู่กับ User มานาน และความรู้ที่ได้รับจากกูรูผู้รู้ในสายงาน Digital Marketing
และด้วยพฤติกรรมของ User ที่มีการเคลื่อนไหว เปลี่ยนแปลงอยู่ตลอด คำตอบวันนี้ อาจจะไม่ใช่สำหรับวันพรุ่งนี้ ฉะนั้น ตามติดใกล้ชิดกันต่อไป แล้วปรับตัวตาม User และอย่าลืมว่า พี่ยุ้ย หรือคุณ หรือใคร ก็เป็น User คนหนึ่งด้วยเช่นกันนะฮับ
บทความ/รูปภาพ :
Webmonster Lab | Yui Kanchita